Biochemistry

ข้อมูลภาควิชา

ค่านิยม

B

Basic Science

วิทยาศาสตร์พื้นฐาน (พรีคลินิก)

I

Innovation

นวัตกรรม

O

Original research

งานวิจัยต้นฉบับ

C

Collaboration

การทำงานร่วมกัน

H

Health Science

วิทยาศาสตร์สุขภาพ

E

Excellence

ความเป็นเลิศ

M

Multidisciplinary

สหสาขาวิชา

ปรัชญา

สอนเยี่ยม วิจัยเด่น บริการดี 

สามัคคี มีน้ำใจ ก้าวไกลสู่สากล

วิสัยทัศน์

ภาคชีวเคมีเป็นหน่วยงานวิชาการที่ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ กอปรด้วยคุณธรรม สร้างงานวิจัยที่มีคุณค่า ให้บริการทางวิชาการ เพื่อชี้นำสังคม เป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการของชาติและนานาชาติ  ประชาคมมีคุณภาพชีวิตที่ดี  และมีความภาคภูมิใจ

พันธกิจของหน่วยงาน

  1. ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ มีความรู้ ทักษะที่ได้มาตรฐานในระดับนานาชาติ และมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสังคม
  2. จัดการเรียนการสอนวิชาชีวเคมีและศาสตร์ที่เชื่อมโยง ทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติการ ให้นิสิตแพทย์ นิสิตบัณฑิตศึกษา นักศึกษาพยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ภายใต้ระบบประกันคุณภาพการศึกษา
  3. ผลิตงานวิจัย สร้างองค์ความรู้ใหม่ มุ่งสู่มาตรฐานสากล
  4. ให้บริการทางวิชาการ ถ่ายทอดองค์ความรู้สู่สาธารณะเพื่อพัฒนาสังคม ประเทศชาติ
  5. ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

ภารกิจที่หน่วยงานสนับสนุน

        ภาคชีวเคมี มีการดำเนินพันธกิจหลักในด้านการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยมีการจัดการเรียนการสอนให้กับนิสิตแพทย์ในระดับปริญญาบัณฑิตทั้งหลักสูตรปกติและหลักสูตรนานาชาติ (CUMEDi) นิสิตระดับบัณฑิตศึกษาของคณะแพทยศาสตร์ และบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  รวมทั้งนักศึกษาพยาบาล สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย โดยเน้นการเรียนการสอนที่ให้นิสิตและนักศึกษาได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ควบคู่กับการเรียนรู้ในชั้นเรียน ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ที่มีการดูแลให้คำแนะนำแก่ผู้เรียนอย่างใกล้ชิด

          ภาคชีวเคมีรับผิดชอบในการพัฒนาและบริหารหลักสูตร วท.ม/วท.ด. สาขาชีวเคมีทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งนี้หลักสูตรดังกล่าวมีการจัดการเรียนการสอนที่มีมาตรฐานระดับสากล อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 20 ปี โดยมีการผลิตมหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิตจำนวนมากกว่า 80 ราย ในปัจจุบันหลักสูตรฯ มีนิสิตที่กำลังศึกษาในระดับมหาบัณฑิต จำนวน 20 ราย และระดับดุษฎีบัณฑิต จำนวน 10 ราย ซึ่งจะสำเร็จการศึกษาในอนาคต และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไป

          ในด้านการบริการวิชาชีพ คณาจารย์ของภาควิชาชีวเคมีได้ร่วมออกตรวจรักษาผู้ป่วยของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยเป็นประจำ เช่น คลินิกผู้ป่วยทั่วไป คลินิกอายุรกรรมโรคตับ คลินิกอายุรกรรมโรคไต คลินิคโรคพาร์กินสัน คลินิกอายุรกรรมสำหรับผู้ป่วยมะเร็งและคลินิกออร์โธปิดิกส์

ภาควิชาชีวเคมีให้ความสำคัญในด้านงานวิจัย โดยมีการตีพิมพ์ผลงานวิชาการระดับนานาชาติอย่างสม่ำเสมอ ด้วยผลงานด้านการวิจัยของหน่วยงานที่มีความโดดเด่น เป็นแหล่งอ้างอิงทางด้านวิชาการทั้งระดับชาติ และนานาชาติ ทั้งนี้คณาจารย์ส่วนใหญ่มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ ระดับ Tier 1 และ Quartile 1 ซึ่งในปีที่ผ่านมามีค่าเฉลี่ยการตีพิมพ์ผลงานวิจัยประมาณ 5 เรื่อง/คน/ปี ตลอดจนได้รับรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติในด้านต่างๆ ได้แก่ รางวัลวิทยานิพนธ์ดีเด่น รางวัลนักชีวเคมีและอณูชีววิทยาโมเลกุลดีเด่น รางวัลนักวิจัยดีเด่น รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น เมธีวิจัยอาวุโส สกว. และรางวัลศิษย์เก่าดีเด่น จากสถาบันต่างๆ ทั่วประเทศ

          นอกจากนี้ มีการต่อยอดงานวิจัยไปสู่นวัตกรรมทางการแพทย์ ได้แก่ นวัตกรรมชุดตรวจคัดกรองโรคโควิด-19 (COVID-19 SCAN) ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มสกัดเข้มข้นจากอัญชัญ และแกนกล้วย (HydroZitLa) และชุดตรวจไวรัสตับอักเสบบี ณ จุดดูแลผู้ป่วย (Point-of-care testing for HBV)

Scroll to Top