Biochemistry

อ.ดร.นพัต จันทรวิสูตร

ตำแหน่ง: อาจารย์ประจำภาควิชา

ความเชี่ยวชาญ:

  • ชีววิทยาเชิงระบบ
  • โปรตีโอมิกส์เชิงปริมาณ
  • การส่งสัญญาณในเซลล์มะเร็ง

Google Scholar

ชีวประวัติ

        อาจารย์ ดร.นพัต จันทรวิสูตร จบการศึกษาระดับปริญญาตรี เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง สาขาชีววิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี พ.ศ. 2551 โดยได้รับทุนรัฐบาลไทยจากโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) ให้เดินทางไปศึกษาระดับปริญญาเอก ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา และจบการศึกษาจาก University of California, Los Angeles  ในปี 2558 จากนั้น ได้เข้าดำรงตำแหน่งอาจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2558 โดยมีความสนใจและความเชี่ยวชาญในด้านการศึกษาการส่งสัญญาณภายในเซลล์มะเร็งสมอง รวมไปถึงการศึกษาด้านชีววิทยาเชิงระบบ ปัจจุบัน อาจารย์ ดร.นพัต จันทรวิสูตร เป็นสมาชิกศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางจุลชีววิทยาเชิงระบบ และศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านชีววิทยาเชิงระบบ โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาบัณฑิตและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับชีววิทยาของมะเร็งและการค้นหาตัวบ่งชี้ทางชีววิทยา รวมไปถึงการสร้างองค์ความรู้ที่ส่งเสริมการตรวจวินิจฉัย การป้องกัน และการรักษาโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ

การศึกษา

  • วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง) สาขาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี พ.ศ. 2551 
  • ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขา Microbiology, Immunology and Molecular Genetics จาก University of California, Los Angeles ประเทศสหรัฐอเมริกา ปี พ.ศ. 2558 

รางวัลที่เคยได้รับ

  • รางวัลการวิจัยแห่งชาติ: รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ระดับดีมาก สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) พ.ศ. 2565 
  • รางวัลการวิจัยแห่งชาติ: รางวัลวิทยานิพนธ์ ระดับดีมาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ พ.ศ. 2563  
  • รางวัล Sidney Rittenberg Award for Ph.D. candidates จากภาควิชา Microbiology, Immunology and Molecular Genetics, University of California, Los Angeles พ.ศ. 2557 
  • รางวัลผลการศึกษายอดเยี่ยมขั้นวิทยาศาสตรบัณฑิต มูลนิธิศาสตราจารย์ ดร.แถบ นีละนิธิ พ.ศ. 2551 
  • รางวัลเหรียญทอง Gold Medal from Chulalongkorn University (highest cumulative GPA in Department of Biology), July 2008.  

ผลงานตีพิมพ์

  1. Chantaravisoot N, Wongkongkathep P, Kalpongnukul N, Pacharakullanon N, Kaewsapsak P, Chaiyaboot A, Loo JA, Tamanoi T, Pisitkun T. mTORC2 interactome and localization determine aggressiveness of high-grade glioma cells through association with gelsolin. Scientific Reports. 2023 Apr 29;13(1):7037. 
  2. Kalpongnukul N, Bootsri R, Wongkongkathep P, Kaewsapsak P, Ariyachet C, Pisitkun T, Chantaravisoot N. Phosphoproteomic analysis defines BABAM1 as mTORC2 downstream effector promoting DNA damage response in glioblastoma cells. Journal of Proteome Research, 2022 Oct 21;13(1):7037. 
  3. Mayuramart O, Poomipak W, Rattanaburi S, Khongnomnan K, Anuntakarun S, Saengchoowong S,  Chavalit T, Chantaravisoot N, Payungporn S. IRF7-deficient MDCK cell based on CRISPR/Cas9 technology for enhancing influenza virus replication and improving vaccine production. PeerJ. 2022 Sep 21;10:e13989. 
  4. Kaewsapsak P, Chantaravisoot N, Nimsamer P, Mayuramart O, Mankhong S, Payungporn S. In Silico Evaluation of CRISPR-Based Assays for Effective Detection of SARS-CoV-2. Pathogens. 2022 Aug 25;11(9):968. 
  5. Ariyachet C, Chuaypen N, Kaewsapsak P, Chantaravisoot N, Jindatip D, Potikanond S, Tangkijvanich P. MicroRNA-223 Suppresses Human Hepatic Stellate Cell Activation Partly via Regulating the Actin Cytoskeleton and Alleviates Fibrosis in Organoid Models of Liver Injury. International Journal of Molecular Sciences. 2022 Aug 19;23(16):9380. 
  6. Chantaravisoot N, Kaewsapsak P, Mayuramart O, Nimsamer P, Mankhong S, Chomta N, Bootsri R, Alee I, Wongkongkathep P, Treeprasertsuk S, Payungporn S. COVID-19 active case findings based on self-collected saliva samples with CRISPR-Cas12a detection. Experimental Biology and Medicine. 2022 Apr 27:15353702221090181. 
  7. Wattanathamsan O, Chetprayoon P, Chantaravisoot N, Wongkongkathep P, Chanvorachote P, Pongrakhananon V. CAMSAP3 depletion induces lung cancer cell senescenceassociated phenotypes through extracellular signal-regulated kinase inactivation. Cancer medicine. 2021 Dec;10(24):8961-75. 
  8. Mayuramart O, Nimsamer P, Rattanaburi S, Chantaravisoot N, Khongnomnan K, Chansaenroj J, Puenpa J, Suntronwong N, Vichaiwattana P, Poovorawan Y, Payungporn S. Detection of severe acute respiratory syndrome coronavirus 2 and influenza viruses based on CRISPR-Cas12a. Experimental Biology and Medicine. 2021 Feb;246(4):400-5. 
  9. Thim-Uam A, Prabakaran T, Tansakul M, Makjaroen J, Wongkongkathep P, Chantaravisoot N, Saethang T, Leelahavanichkul A, Benjachat T, Paludan SR, Pisitkun T. STING mediates lupus via the activation of conventional dendritic cell maturation and plasmacytoid dendritic cell differentiation. Iscience. 2020 Sep 25;23(9):101530. 
  10. Chantaravisoot N, Wongkongkathep P, Loo JA, Mischel PS, Tamanoi F. Significance of filamin A in mTORC2 function in glioblastoma. Molecular cancer. 2015 Dec;14(1):1-14. 

หนังสือ

  • นพัต จันทรวิสูตร. เมแทบอลิซึมของฮีมหลักชีวเคมีทางการแพทย์ หน้า 209-216 กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2563-2566  
  • นพัต จันทรวิสูตร. กระบวนการคัดลอก ซ่อมแซม และแลกเปลี่ยนดีเอ็นเอหลักชีวเคมีทางการแพทย์ หน้า 333-347 กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2563-2566  
  • นพัต จันทรวิสูตร. “สารพิษในอาหารและเมแทบอลิซึมของสารแปลกปลอมหลักชีวเคมีทางการแพทย์ หน้า 259-271 กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2563-2566  
  • Chantaravisoot N, Tamanoi F. mTOR signaling and human cancer. The Enzymes (Vol. 28, pp. 301-316). Academic Press. 2010 Jan 1. 
Scroll to Top