ข้อมูลภาควิชา

ค่านิยม
B
Basic Science
วิทยาศาสตร์พื้นฐาน (พรีคลินิก)
I
Innovation
นวัตกรรม
O
Original research
งานวิจัยต้นฉบับ
C
Collaboration
การทำงานร่วมกัน
H
Health Science
วิทยาศาสตร์สุขภาพ
E
Excellence
ความเป็นเลิศ
M
Multidisciplinary
สหสาขาวิชา

ปรัชญา
สอนเยี่ยม วิจัยเด่น บริการดี
สามัคคี มีน้ำใจ ก้าวไกลสู่สากล
วิสัยทัศน์
ภาคชีวเคมีเป็นหน่วยงานวิชาการที่ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ กอปรด้วยคุณธรรม สร้างงานวิจัยที่มีคุณค่า ให้บริการทางวิชาการ เพื่อชี้นำสังคม เป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการของชาติและนานาชาติ ประชาคมมีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีความภาคภูมิใจ
พันธกิจของหน่วยงาน
- ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ มีความรู้ ทักษะที่ได้มาตรฐานในระดับนานาชาติ และมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสังคม
- จัดการเรียนการสอนวิชาชีวเคมีและศาสตร์ที่เชื่อมโยง ทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติการ ให้นิสิตแพทย์ นิสิตบัณฑิตศึกษา นักศึกษาพยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ภายใต้ระบบประกันคุณภาพการศึกษา
- ผลิตงานวิจัย สร้างองค์ความรู้ใหม่ มุ่งสู่มาตรฐานสากล
- ให้บริการทางวิชาการ ถ่ายทอดองค์ความรู้สู่สาธารณะเพื่อพัฒนาสังคม ประเทศชาติ
- ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ภารกิจที่หน่วยงานสนับสนุน
ภาคชีวเคมี มีการดำเนินพันธกิจหลักในด้านการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยมีการจัดการเรียนการสอนให้กับนิสิตแพทย์ในระดับปริญญาบัณฑิตทั้งหลักสูตรปกติและหลักสูตรนานาชาติ (CUMEDi) นิสิตระดับบัณฑิตศึกษาของคณะแพทยศาสตร์ และบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมทั้งนักศึกษาพยาบาล สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย โดยเน้นการเรียนการสอนที่ให้นิสิตและนักศึกษาได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ควบคู่กับการเรียนรู้ในชั้นเรียน ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ที่มีการดูแลให้คำแนะนำแก่ผู้เรียนอย่างใกล้ชิด
ภาคชีวเคมีรับผิดชอบในการพัฒนาและบริหารหลักสูตร วท.ม/วท.ด. สาขาชีวเคมีทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งนี้หลักสูตรดังกล่าวมีการจัดการเรียนการสอนที่มีมาตรฐานระดับสากล อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 20 ปี โดยมีการผลิตมหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิตจำนวนมากกว่า 80 ราย ในปัจจุบันหลักสูตรฯ มีนิสิตที่กำลังศึกษาในระดับมหาบัณฑิต จำนวน 20 ราย และระดับดุษฎีบัณฑิต จำนวน 10 ราย ซึ่งจะสำเร็จการศึกษาในอนาคต และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไป
ในด้านการบริการวิชาชีพ คณาจารย์ของภาควิชาชีวเคมีได้ร่วมออกตรวจรักษาผู้ป่วยของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยเป็นประจำ เช่น คลินิกผู้ป่วยทั่วไป คลินิกอายุรกรรมโรคตับ คลินิกอายุรกรรมโรคไต คลินิคโรคพาร์กินสัน คลินิกอายุรกรรมสำหรับผู้ป่วยมะเร็งและคลินิกออร์โธปิดิกส์
ภาควิชาชีวเคมีให้ความสำคัญในด้านงานวิจัย โดยมีการตีพิมพ์ผลงานวิชาการระดับนานาชาติอย่างสม่ำเสมอ ด้วยผลงานด้านการวิจัยของหน่วยงานที่มีความโดดเด่น เป็นแหล่งอ้างอิงทางด้านวิชาการทั้งระดับชาติ และนานาชาติ ทั้งนี้คณาจารย์ส่วนใหญ่มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ ระดับ Tier 1 และ Quartile 1 ซึ่งในปีที่ผ่านมามีค่าเฉลี่ยการตีพิมพ์ผลงานวิจัยประมาณ 5 เรื่อง/คน/ปี ตลอดจนได้รับรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติในด้านต่างๆ ได้แก่ รางวัลวิทยานิพนธ์ดีเด่น รางวัลนักชีวเคมีและอณูชีววิทยาโมเลกุลดีเด่น รางวัลนักวิจัยดีเด่น รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น เมธีวิจัยอาวุโส สกว. และรางวัลศิษย์เก่าดีเด่น จากสถาบันต่างๆ ทั่วประเทศ
นอกจากนี้ มีการต่อยอดงานวิจัยไปสู่นวัตกรรมทางการแพทย์ ได้แก่ นวัตกรรมชุดตรวจคัดกรองโรคโควิด-19 (COVID-19 SCAN) ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มสกัดเข้มข้นจากอัญชัญ และแกนกล้วย (HydroZitLa) และชุดตรวจไวรัสตับอักเสบบี ณ จุดดูแลผู้ป่วย (Point-of-care testing for HBV)